วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันปิยมหาราช


                 วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวัน "ปิยมหาราช" จะมีพิธีวางพวงมาลาและถวายบังคมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงประกาศ  “เลิกทาส” อันเป็นรากฐานการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทรงปฏิรูปและพัฒนาในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การสาธารณสุข การศึกษา การต่างประเทศ และการคมนาคม เป็นต้น ตลอดจนนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมพ้นในการเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ โดยพระองค์ทรงยอมสูญเสียดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาเอกราชของเราเอาไว้ นอกจากนี้พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มและวางแผนให้โครงสร้างของสังคมไทย มีความทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศที่เจริญแล้ว

พระราชประวัติ

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพในวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับ เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ณ พระตำหนัก ตึกด้านหลังองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชการที่ 4)  กับสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการสงคราม และการปกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัย ศึกษาพระธรรมวินัย เมื่อมีพระชนมายุ 15 พรรษาทรงได้รับเลื่อนยศขึ้นเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ ต่อมา สมเด็จพระราชบิดา ประชวรสวรรคต ด้วยโรคไข้ป่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถจึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2411 ขณะนั้นพระองค์ทรงมีชนมายุย่างเข้า16 พรรษาทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    ตลอดระยะเวลา 42  ปีที่ทรงครองราชย์ ได้ทรงพัฒนาสยามประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศทุกวิถีทางอาทิเช่น ด้านการปกครอง การศึกษา การสาธารณูปโภค การต่างประเทศ และ  เศรษฐกิจ เนื่องจากทรงเอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ของประชาราษฎร ด้วยการเสด็จออกไปตรวจราชการ พบปะประชาชน ข้าราชการเสมอๆ  นอกจากนั้นทรงเสด็จไปต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย ตลอดจนถึงยุโรปในหลายประเทศ ทำให้ประเทศไทยได้เป็นที่รู้จักยอมรับและของนานาประเทศ

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416  ในพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงมีพระมเหสีและเจ้าจอมรวม 92  พระองค์ ทรงมีพระโอรสและพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์  สำหรับพระมเหสีที่สำคัญได้แก่ 
               1. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์แรก) หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม สิ้นพระชนม์เพราะเรือร่ม ขณะกำลังทรงพระครรภ์ 5 เดือนพร้อมกับพระธิดาที่มีพระชนมายุเพียง 2 
2. สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (อัครมเหสีองค์ที่ 2) พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน
3. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงเป็นพระชนนี ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่

                         พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรม ทั้งกวีและนักแต่งหนังสือ พร้อมทั้งมีความสามารถแต่งโครง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร้อยแก้ว  รัชกาลที่ 5 ทรงมีผลงานพระราชนิพนธ์ เช่น  พระราชพิธี 12 เดือน ไกลบ้าน พระราชวิจารณ์ เงาะป่า ลิลิตนิทราชาคริต เสด็จประพาสต้น
กาพย์เห่เรือ ประชุมโคลงสุภาษิต เป็นต้น กวีในรัชสมัยนี้อาทิเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระยาศรีสุนทรโวหาร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชาพร ฯลฯ
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวรพระวักกะ (ไต) พิการ วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระองค์ได้เสด็จสวรรคต รวมพระชนอายุ 57 พรรษา ทรงเสวยราชย์ 42 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักยิ่งของราษฎร
พระราชกรณียกิจที่สำด้านการปกครอง : เกิดการปฏิรูประเบียบวิธีปกครองให้ทันสมัย ดังนี้
 1.  ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภา คือสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาและคำคิดเห็นต่างๆ และอีกสภาคือ สภาองคมนตรี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์และปฏิบัติราชการต่างๆ ตามพระราชดำริ
 2. ตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง เพื่อให้การบริหารส่วนราชการสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและปริมาณของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น
 3. ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล
 4. ทรงปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลให้ทันสมัยและขจัดสิทธิสภาพนอกอาณาเขต มีกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบอย่างแท้จริง ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาซึ่งถือเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายอีกด้วย
 5. ให้จัดการทหารตามแบบแผนของยุโรป และวางกำหนดการเกณฑ์ทหารเข้าเป็นทหาร แทนการใช้แรงงานบังคับไพร่ตามประเพณีเดิม ทรงจัดตั้งโรงเรียนการทหาร คือ โรงเรียนรายร้อยพระจุลจอมเกล้าขึ้นและ จัดตั้งตำรวจภูธร ตำรวจนครบาล อีกด้วย

     6.  การเลิกทาส  พระองค์ทรงใช้วิธีการอย่างละมุนละม่อมในการเลิกทาส มิให้ทั้งนายและตัวทาสเองได้รับผลเสียและไม่พึงพอใจ ทรงดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยพระองค์ทรงเริ่มจากการจัดระเบียบสังคมเสียใหม่ให้มีการใช้แรงงานจ้าง ทหารประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์แรงงาน มีการตราพระราชบัญญัติทหารหลายฉบับ และประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ 18 - 20 ปีต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารและประจำการมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารนี้ นับเป็นการยกเลิกระบบไพร่หรือการเลิกทาสอย่างเป็นทางการ ไพร่จึงมีสถานะเป็นคนสามัญ เป็นแรงงานอิสระที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในฐานะมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเลิกทาสได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2448 จึงเลิกระบบทาสได้สำเร็จ และได้ออกเป็นพระราชบัญญัติทาส รศ. 128
 เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี พระองค์ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ

ด้านการศึกษา : พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงทรงปฏิรูปการศึกษาโดยให้วัดร่วมมือกับรัฐจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนความรู้อย่างเป็นระบบแบบแผนที่ทันสมัย คือให้มีสถานที่เล่าเรียน มีครูสอนตามเวลาที่กำหนด และให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นพระบรมมหาราชวัง มีเป้าหมายเพื่อ การเรียน การสอนในการฝึกหัดกุลบุตรของบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นสูงที่ถวายตัวเพื่อรับราชการโรงเรียนเหล่านี้ได้แก่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ใน พ.ศ. 2427 ทรงได้จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม และในเวลาต่อมาก็ได้ทรงตั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น